วันพฤหัสบดีที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2556

รายชื่อสมาชิก


1.นส.วศินี         ฉายวิวัฒนาการ  เลขที่  7
2.นายนลธวัช     ทำมาหากิน       เลขที่ 18
3.นายปฏิภาณ   ลีนะเปสนันท์      เลขที่ 19
4.นายรัชพล      มาศผล             เลขที่ 23
ม.4/8

วันพุธที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ระบบกล้ามเนื้อ

(Muscular system)







ระบบกล้ามเนื้อ



          เนื่องจากสิ่งมีชีวิตในอาณาสัตว์มีความสามารถในการเคลื่อนไหว(locomotion)ได้ด้วยตนเอง และ คนก็เป็นสิิ่งมีชีวิตในอาณาจักรนี้ จึงเกิดคำถามขึ้นมาว่า “คนเคลื่อนไหวได้อย่างไร?”
คำตอบก็คือการประสานงานระหว่างระบบค่ำจุนร่างกายและระบบกล้ามเนื้อนั้นเอง
ระบบกล้ามเนื้อเป็นระบบที่ควบคุมการเคลื่อนไหวของอวัยวะต่างๆภายในร่างกาย 
โดยที่สามารถจำแนกชนิดของกล้ามเนื้อออกได้เป็น2 ชนิด คือ



           1. กล้ามเนื้อลาย (Striated Muscles) หรือ กล้ามเนื้อในอำนาจจิตใจ
มีลักษณะคือ มีนิวเคลียสจำนวนมากอยู่ ที่ขอบของเซลล์ มีลายตามขวาง สีเข้มและสีจางสลับกัน ซึ่งเห็นได้ชัดเจนเมื่อย้อมด้วยสี คนที่ออกกำลังเสมอเส้นใยกล้ามเนื้อจะโตขึ้น และหนาขึ้น แต่จำนวนไม่เพิ่มขึ้น กล้ามเนื้อลายมีหน้าที่เคลื่อนไหวร่างกายที่ข้อต่อต่างๆเคลื่อนไหวลูกตา ช่วยในการเคี้ยวและการกลืน เคลื่อนไหวลิ้น เคลื่อนไหวใบหน้าแสดงอารมณ์ต่างๆ และยังประกอบเป็นผนังอก และผนังท้อง ตลอดจนการควบคุมการขับถ่ายปัสสาวะและอุจจาระ

m1.PNG


           2. กล้ามเนื้อเรียบ (smooth Muscles) หรือ กล้ามเนื้อนอกอำนาจจิตใจ
เป็นกล้ามเนื้อที่บุอยู่ที่อวัยวะต่างภายในของร่างกายมีหน้าที่ ควบคุมการทำงานของอวัยวะย่อยอาหาร และอวัยวะภายใน ต่างๆ เช่น ลำไส้ กระเพาะอาหาร อวัยวะสืบพันธุ์ มดลูก เส้นเลือดดำ ฯลฯ ซึ่งอยู่นอกอำนาจของจิตใจ แต่อยู่ภายใต้ การควบคุมของระบบประสาทอิสระ (Autonomie Nervous System)มีลักษณะเป็นเซลล์รูปกระสวย มีนิวเคลียสรูปไข่อยู่ตรงกลาง


muscle2.jpg




กล้ามเนื้อในส่วนต่างๆของร่างกาย



กล้ามเนื้อในร่างกายทั้งหมดมีอยู่ประมาณ 792 มัด เป็นกล้ามเนื้อชนิดที่อยู่ในอำนาจจิตใจ696 มัด ที่ เหลืออีก 96 มัด เป็นกล้ามเนื้อที่เราบังคับได้ไม่เต็มสมบูรณ์ ซึ่งได้แก่กล้ามเนื้อ ที่ทำหน้าที่ในการหายใจ (Respiration) จาม (Sneezing) ไอ (Coughing)
ตัวอย่างกล้ามเนื้อที่หน้าสนใจ
กล้ามเนื้อที่ช่วยในการหายใจ (TheMuscles of respiration)
-Diaphragm ทำให้ช่องอกขยายโตขึ้นและช่วยดันปอดให้ลมออกมา
- External Intercostal ยกซี่โครงขึ้นทำให้ช่องอกขยาย ใหญ่ขึ้น
- Internal Intercostal ทำให้ช่องอกเล็กลง
กล้ามเนื้อของแขน กล้ามเนื้อของแขน แบ่งออกเป็นส่วน ๆ ดังนี้

(1) กล้ามเนื้อของไหล่ ที่สำคัญได้แก่ กล้ามเนื้อ deltoid เนื้อใหญ่หนา มีรูป เป็นสามเหลี่ยมคลุมอยู่ที่ข้อไหล่ตั้งต้นจากปลายนอกของกระดูก ไหปลาร้า และกระดูกสะบัก แล้วไปยึดเกาะที่พื้นนอกตอนกลางของกระดูกแขนท่อนบน ทำหน้าที่ยกต้นแขนขึ้นมาข้างบนให้ได้ระดับกับไหล่เป็นมุมฉาก
(2) กล้ามเนื้อของต้นแขน ที่สำคัญได้แก่ - ไบเซฟส์แบรคิไอ (biceps brachii) เป็นกล้ามเนื้อที่อยู่ด้านหน้าของ ต้นแขน มีรูปคล้ายกระสวย ทำหน้าที่งอข้อศอกและหงายมือ - ไตรเซฟส์แบรคิไอ (triceps brachii) เป็นกล้ามเนื้อมัดใหญ่อยู่ด้าน หลังของต้นแขน ปลายบนแยกออกเป็น 3หัว ช่วยทำหน้าที่เหยียดปลายแขนหรือข้อศอก
(3) กล้ามเนื้อของปลายแขน มีอยู่หลายมัด จำแนกออกเป็นด้านหน้า และ ด้านหลัง ในแต่ละด้านยังแยกเป็น 2 ชั้น คือ ชั้นตื้น และชั้นลึก ทำหน้าที่เหยียดข้อศอก เหยียดและงอมือ เหยียดนิ้วมือ กระดกข้อมือ งอข้อมือ พลิกแขนและคว่ำแขน ฯลฯ
(4) กล้ามเนื้อของมือ เป็นกล้ามเนื้อสั้น ๆ ทำหน้าที่เคลื่อนไหวนิ้วมือ
กล้ามเนื้อของขา กล้ามเนื้อของขา จำแนกออกเป็น
(4.1) กล้ามเนื้อตะโพก กล้ามเนื้อมัดใหญ่ที่สุดของตะโพก ได้แก่ กลูเทียส แมกซิมัส (gluteus maximus) มีลักษณะหยาบและอยู่ตื้น ช่วยทำหน้าที่เหยียดและกางต้นขา นอกจากนี้ยังมีมัดเล็ก ๆ อยู่ใต้กล้ามเนื้อมัดใหญ่นี้ ช่วยกางและหมุนต้นขาเข้าข้างใน
(4.2) กล้ามเนื้อของต้นขา ประกอบด้วย - กล้ามเนื้อด้านหน้าของต้นขา มีหน้าที่เหยียดปลายขา - กล้ามเนื้อด้านในของต้นขา มีหน้าที่หุบต้นขา - กล้ามเนื้อด้านหลังของต้นขา มีหน้าที่งอปลายข
(4.3) กล้ามเนื้อของปลายขา ประกอบด้วย - กล้ามเนื้อด้านหลังของปลายขา ทำหน้าที่งอเท้าขึ้นเหยียด นิ้วเท้าและหันเท้าออกข้างนอก - กล้ามเนื้อด้านนอกของปลายขา ช่วยทำหน้าที่เหยียดปลายเท้า เหมือนกล้ามเนื้อด้านหลังของปลายขา

(4.4) กล้ามเนื้อของเท้า เป็นกล้ามเนื้อสั้น ๆ เหมือนกับของมือ อยู่ที่หลังเท้า และฝ่าเท้า มีหน้าที่ช่วยยึดเท้าให้เป็นส่วนโค้งและเคลื่อนไหวนิ้วเท้า